Go to Top
มาตรการลดผลกระทบทางอากาศ

มาตรการลดผลกระทบทางอากาศ

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ และยืนยันได้ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทำตามกฎเกณฑ์ของภาครัฐ เพื่อช่วยกันทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากทั่วโลก (Proven Technology) และเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ลดมลภาวะต่างๆ ได้แก่

  • ติดตั้งเตาเผาไหม้เพื่อลดการเกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (Low NOx burner)
  • ติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitator; ESP)
  • ติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurization; FGD) และ
  • ปล่องระบาย (Chimney) สูง 200 เมตร
การตรวจสอบอากาศนั้น โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอากาศอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System; CEMS) ที่กลางปล่อง และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Monitoring Station; AQMS) จำนวน 4 แห่ง โดยรอบโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีการควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ในถ่านหินให้อยู่ในระดับต่ำที่ 0.27-0.7% และเฉลี่ย 0.45% ต่อปี รวมทั้งมีการควบคุมมลสารที่ปล่อยสู่บรรยากาศให้ดีกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยภาครัฐ ดังนี้
 
  • ฝุ่นละออง 43 mg/m3 จากมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ 120 mg/m3 ซึ่งดีกว่ามาตราฐาน 64%
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ตามที่กำหนดไว้ใน EIA คือ 262 ppm จากมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ 320 ppm ดีกว่ามาตรฐาน 18% 
  • ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 241 ppm จากมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ 350 ppm ดีกว่ามาตรฐาน 31%

มาตรการลดผลกระทบทางน้ำ

มาตรการลดผลกระทบทางน้ำ

น้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้าฯ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • น้ำจืด (Fresh Water )
    น้ำที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิต ท่าเรือ ลานกองถ่านหิน และสำนักงานฯ) โดยการ
    * จัดให้มีโรงบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment Plant)
    * น้ำจากท่าเรือ และลานกองถ่านหินจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (Re-use)

  • น้ำทะเล (Sea Water)
    จะถูกสูบเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นและระบบบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของซัลเฟอร์  โดยติดตั้งตะแกรง 2 ชั้น (Traveling Screen and Bar Screen) เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ดลอดเข้ามาในระบบหล่อเย็น ทั้งนี้ได้มีการควบคุมความเร็วของน้ำทะเลที่สูบเข้ามาใช้ในการหล่อเย็น ไม่เกิน 0.3 เมตรต่อวินาที โดยตะแกรงดังกล่าวจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตที่อาจเล็ดลอด เข้ามาสามารถออกจากคลองส่งน้ำหล่อเย็นได้โดยง่ายนอกจากนี้บริเวณจุดปล่อยน้ำหล่อเย็นได้ทำการติดตั้งบ่อเติมอากาศ เพื่อปรับอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเล (อุณหภูมิ< 40° C และ ค่าความเป็นกรดด่าง ~ 7) พร้อมทั้งมีการตรวจสอบระบบและจัดทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์รายปี รวมถึงการตรวจวัด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ และอุณหภูมิน้ำบริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

เถ้าถ่านหิน

เถ้าถ่านหิน

เถ้าถ่านหิน มีการจัดการดังนี้
เถ้าถ่านหิน Fly Ash หรือ เถ้าลอย ที่ได้จากการเผาไหม้ทั้งหมด โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีได้จำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตและช่วยลดต้นทุนของวัตถุดิบ ซึ่งเถ้าถ่านหินจากบิทูมินัส ถือเป็นเถ้าถ่านหินคุณภาพดี และได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างประเทศ อาทิ ใช้ผสมปูนซีเมนต์ในการสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นเขื่อนตามโครงการพระราชดำริ โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจึงไม่จำเป็นต้องมีการฝังกลบเถ้าถ่านหินซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้แต่อย่างใด

สำหรับ Bottom Ash หรือ เถ้าหนัก นั้น เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ในโครงการ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา “อิฐลดอุณหภูมิ” จากเถ้าหนักที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายลดปริมาณของเสียและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
 อิฐลดอุณหภูมิที่พัฒนาร่วมกันนี้ มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ช่วยประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

BLCP.jpg 59.58 KB

ท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน

ท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน

ถ่านหินบิทูมินัสซึ่งโดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ทำการขนส่งทางเรือมายังท่าเรือน้ำลึกของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โดยโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีให้ความสำคัญต่อมาตรการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการตรวจสอบคุณภาพของถ่านหินบิทูมินัสที่นำเข้าทุกๆ เที่ยวเรือ

การขนถ่ายถ่านหินเข้าสู่โรงไฟฟ้าและลานกองถ่านหินทำโดยใช้สายพานลำเลียงที่มีแผ่นกำบังลมปิดโดยรอบ เพื่อป้องกันการตกหล่นของถ่านหินและการฟุ้งกระจายของฝุ่น พร้อมทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์สเปรย์น้ำในขณะขนถ่ายที่ Unloader Hopper เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นอีกขั้นหนึ่งด้วย

น้ำจากการสเปรย์จะถูกรวบรวมลงสู่บ่อพักน้ำ และสูบกลับเพื่อนำไปบำบัด โดยไม่มีการปล่อยน้ำออกสู่ทะเล นอกจากนี้บริษัทฯ ยังทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลโดยรอบบริเวณท่าเรือขนถ่ายถ่านหินของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


ลานกองถ่านหิน

ลานกองถ่านหินสามารถจุถ่านหินได้ปริมาณ 700,000 ตัน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าวันละ 10,000 ตัน
 
หลังจากที่มีการขนถ่ายถ่านหินขึ้นสู่ฝั่งแล้ว ถ่านหินจะถูกลำเลียงต่อไปยังลานกองถ่านหิน ซึ่งมีทั้งหมด 3 กอง โดย 2 กองแรกจะใช้หมุนเวียน (Active Stock) สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนกองสุดท้ายเป็นกองถ่านหินสำรอง (Dead Stock) ที่มีการบดอัดแน่นเพื่อไว้ใช้ในกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงฉุกเฉิน นอกจากนี้รอบๆ ลานกองถ่านหินทั้ง 3 กอง โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีมาตรการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้
 
•รอบๆ ลานกองถ่านหิน มีการติดตั้งระบบสเปรย์น้ำที่สามารถปรับความแรงของน้ำได้ตามความแรงของกระแสลม จำนวน 32 จุด เพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายหรือการสันดาปจากความร้อน โดยน้ำจากการสเปรย์กองถ่านหินจะถูกรวบรวมไปยังบ่อตกตะกอน ก่อนจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในการสเปรย์ต่อไป
•มีการติดตั้งกำแพงเปลี่ยนทิศทางลม (Wind Fence) ที่มีความยาว 450 เมตรและมีความสูงถึง 6 เมตร เพื่อมิให้แรงลมมาปะทะกับลานกองถ่านหินโดยตรง ทั้งนี้จะทำให้ลดการเกิดฝุ่นฟุ้งกระจายหรือการสันดาปจากความร้อน
•ติดตั้งเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองถึง 3 บริเวณ คือ ด้านเหนือ ด้านใต้ของลานกองถ่านหิน และที่ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่
•บริเวณใต้ลานกองถ่านหิน มีการปูด้วยพลาสติกกันซึมคุณภาพดีชนิดความหนาแน่นสูง (High-Density Polyethylene; HDPE) เพื่อป้องกันน้ำซึมลงสู่ใต้ดิน โดยน้ำจากการสเปรย์กองถ่านหินจะถูกรวบรวมไปที่บ่อตกตะกอน ก่อนจะนำกลับมาใช้ในการสเปรย์ต่อไป