Go to Top

โครงการพัฒนาแปลงผักไฮโดรโปรนิคสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart farmer internet of things หรือ iot)

โครงการเกษตรอินทรีย์

2020/08/23
โครงการพัฒนาแปลงผักไฮโดรโปรนิคสู่ระบบเกษตรอินทรีย์-ด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ-(Smart-farmer-internet-of-things-หรือ-iot)
หลักการ
ตามที่โรงไฟฟ้าบีแอลซีพได้ดำเนินโครงการเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2558 – ปัจจุบัน และมีเป้าหมายต้องการขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ สู่ชุมชนรอบข้าง บริษัทจึงได้ร่วมมือกับชุมชนเปลี่ยนแนวคิดจากการใช้สารเคมีในการปลูกผัก มาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งภายใต้โครงการนี้เราจะพัฒนาสู่แปลงต้นแบบดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนแปลงผักโฮโดรโปรนิคแบบเคมี สู่แปลงต้นแบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีระบบ เกษตรอัจฉริยะ (Smart farmer internet of things หรือ iot)
2. ปรับเปลี่ยนแปลงผักยกพื้นจากเคมี สู่แปลงต้นแบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตร อัจฉริยะ (Smart farmer internet of things หรือ iot)


จากการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์จ่าย 1 ได้มากกว่า 1 ของฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ จึงได้เล็งเห็นถึงการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนด้านอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากลให้สอดคล้องกับนโยบายไทยเลนด์ 4.0 จึงได้มีแนวคิด พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะร่วมกับ วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง ไปสู่การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ สู่ระดับประเทศ และโครงการนี้ยังสามารถร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนนโยบายของจังหวัดระยองที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมาย
1. เกษตรกรชุมชนโขดหินมิตรภาพ
2. เกษตรกรชุมชนคลองน้ำหู
3. วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ชุมชนโขดหิน – เขาไผ่
4. วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง
5. สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง

วัตถุประสงค์
1. ปรับเปลี่ยนแปลงผักสารเคมี สู่แปลงต้นเกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart farmer internet of things หรือ iot)
2. พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ และพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
3. ร่วมกันพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ เข้าการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับอาชีวศึกษา (Smart Farming) สู่ระดับประเทศ
4. เพื่อเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การพัฒนา ระหว่าง ชุมชนกลุ่มเกษตรกรในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด วิทยาลัยสารพัดช่าง สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง และบริษัทฯ
5. เพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง ชุมชนกลุ่มเกษตรกรในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด วิทยาลัยสารพัดช่าง สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง และบริษัทฯ

สิ่งที่จะได้รับ
1. ชุมชนโขดหินมิตรภาพ : คุณลำยอง สระศรี ชุมชนโขดหินมิตรภาพ ได้ชีวิตใหม่จากเกษตรกรเคมีสู่วิถีอินทรีย์ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ ส่งผลให้คนในชุมชนฯ มีแหล่งผักเกษตรอินทรีย์ ตัวเกษตรกรมีเวลาในการทำอย่างอื่นมาขึ้น
2. ชุมชนคลองน้ำหู : คุณสัมฤทธิ์ ละมัย ชุมชนคลองน้ำหู ได้ชีวิตใหม่จากเกษตรกรเคมีสู่วิถีอินทรีย์ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ ส่งผลให้คนในชุมชนฯ มีแหล่งผักเกษตรอินทรีย์ ตัวเกษตรกรมีเวลาในการทำอย่างอื่นมาขึ้น
3. วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ชุมชนโขดหิน – เขาไผ่ ได้ขายผลิตภัณฑ์ ดินหอม น้ำหมัก สู่ชุมชนรอบข้าง สร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
4. วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง : ได้ ข้อมูลจากที่เกษตรกร ที่แอพคลิเคชั่นระบบเกษตรอัจฉริยะ นำไปพัฒนาต่อยอด สู่การเป็นนักพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะระดับประเทศต่อไป
5. สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ได้เผยแพร่ข้อมูลวิชาการ ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร แก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ตามนโยบายของสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง
6. บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด : ได้พัฒนาความยั่งยืนให้กับ ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ ด้วยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การพัฒนาที่มั่งคง มั่นคั่ง และยั่งยืน

ระยะเวลาดำเนินการ
พฤศจิกายน 2562 – พฤศจิกายน 2563